
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ได้ดำเนินโครงการจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการระดับชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีเป็นครั้งแรกในปี 2564 ระหว่างวันที่ 7-8 มกราคม 2564 ภายใต้หัวข้อ “21st Century Skills ของบัณฑิตพันธุ์ใหม่ในยุค Viral Disruption” โดยมีผู้ให้ความสนใจส่งบทความเข้ามาร่วมนำเสนอทั้งสิ้น จำนวน 109 บทความ แบ่งเป็นการนำเสนอภาคบรรยาย จำนวน 78 บทความ และเป็นการนำเสนอภาคโปสเตอร์ จำนวน 31 บทความ ซึ่งการประจัดประชุมครั้งที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี จึงนำไปสู่การจัดประชุมครั้งนี้เป็นปีที่ 2 คือการประชุมวิชาการและนิทรรศการระดับชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ครั้งที่ 2 (NAC-HUSOC II: The 2nd National Conference on Humanities and Social Sciences for Undergraduate Students) ภายใต้ชื่อ “วิศวกรสังคมสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” การจัดประชุม NAC-HUSOC II อยู่ภายใต้ “งานราชภัฏบุรีรัมย์มหกรรมวิชาการเเละวัฒนธรรมนานาชาติ ครั้งที่ 5 (BRICC Festival 2022)” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-16 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นประธานเปิดการประชุมและปาฐกถาพิเศษ
ในการจัดประชุม NAC-HUSOC II ปีนี้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้นำเสนอแก่นเรื่อง (conference theme) คือ “วิศวกรสังคมสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” เพราะ วิศวกรสังคม (Social Engineer) คือคนที่ใส่ใจเรื่องราวต่าง ๆ ในสังคม และเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสังคมให้ดีขึ้น โดยใช้การสังเกต เก็บข้อมูล คิดวิเคราะห์ แบบมีเหตุและผล รวมทั้งการแก้ไขปัญหาแบบเป็นระบบ ในการลงพื้นที่ชุมชนท้องถิ่น ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรีมย์ก็ได้ให้ความสำคัญและมีนโยบายที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับการสนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษาไปร่วมด้วยช่วยกันกับชาวบ้านเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นการฝึกฝนทั้งทางด้านทักษะเฉพาะทาง (hard skill) และทักษะในการเข้าสังคม (solf skill) ในด้านของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้นก็ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ ทั้ง 9 สาขาวิชาคือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษธุรกิจ บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ดนตรี ศิลปะดิจิทัล การพัฒนาสังคม รัฐประศาสนศาสตร์ และ นิติศาสตร์ ดำเนินโครงการวิศวกรสังคมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ซึ่งทุกสาขาวิชาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่จะพัฒนานักศึกษาให้เป็นวิศวกรสังคมตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ให้เป็นวิศวกรสังคมทำงานร่วมกับชุมชนชาบ้านเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืนในการจัดประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากดร.นงรัตน์ อิสโร นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ช่วยปฏิบัติราชการประจำสำนักงาน พล.อ. ดาว์พงษ์รัตนสุวรรณ องคมนตรี บรรยายพิเศษ เรื่อง “พัฒนา Soft Skills บัณฑิตพันธุ์ใหม่ ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม : ท้องถิ่นพัฒนา นักศึกษามีงานทำ” และ ดร.เมธาวิน สาระยาน ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี บรรยายพิเศษและนำฝึกปฏิบัติ เรื่อง “วิศกรสังคมสู่การเป็นนวัตกรชุมชน: เเนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี” นอกจากการประจัดประชุมวิชาการแล้ว ในงานนี้ก็มีการจัดกิจกรรมการแข่งทักษะวิชาการด้านมนุษยสังคมศาสตร์ของนักศึกษาทั้ง 9 สาขาวิชาอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้แสดงผลงานอันโดดเด่นด้านศาสตร์ของตัวเองให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในแวดวงวิชาการ
ในการจัดประชุมครั้งนี้มีรูปแบบการดำเนินกิจกรรมทั้งแบบออนไลน์และแบบออนไซต์ โดยการนำเสนอผลงานทางวิชาการในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จัดเป็นรูปแบบออนไลน์ ส่วนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นพิธีเปิดโดยท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ การแสดงศิลปวัฒนธรรมของเครือข่ายชุมชนเพื่อต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน และการแข่งทักษะทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะจัดในรูปแบบออนไซต์ด้วยการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาอย่างเคร่งครัด ในการประชุมครั้งนี้ มีผู้ให้ความสนใจส่งบทความเข้ามาร่วมนำเสนอทั้งสิ้น จำนวน 43 บทความ โดยแบ่งเป็นการนำเสนอภาคบรรยาย จำนวน 40 บทความ และเป็นการนำเสนอภาคโปสเตอร์ จำนวน 3 บทความ จาก 8 สถาบันคือ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ซึ่ง การดำเนินงานดังกล่าว ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว และได้ตีพิมพ์บทความวิชาการเผยแพร่ ฉบับเต็ม ให้นักวิจัยที่นำเสนอบทความวิจัย ท่านสามารถ Download เอกสารผ่านเว็บไซต์ nac-husocii.bru.ac.th